วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วิธีถือเชือก


หั ว เ ชื อ ก วั ว ช น
สัมพันธ์หลากหลายในสายเชือก
ข้อมูล อาคม เดชทองคำ เรื่อง วิวัฒน์ พันธวุฒิยานนท์
ภาพ : ชัยชนะ จารุวรรณากร
    เชือกในมือเด็กเลี้ยงวัวถูกทอดออกไป ขดกลับเข้ามา แล้วก็ทอดออกไปอีก ปลายของมันพุ่งไปในทิศทางของวัวชนกลางลานทราย แต่ไม่ถึง อย่างนี้ไม่รู้กี่เที่ยวต่อกี่เที่ยวตลอดการพันตูของ "ไอ้โหนด" คล้ายกับจะสื่อความรู้สึกจากใจคนเลี้ยงว่า    "เอาให้ตายเลยไอ้โหนด"
(คลิกดูภาพใหญ่)    ไอ้โหนดทดแทนใจพ่อแม่พี่น้องที่โยนมากับเชือกจูงวัว ด้วยลีลาชนอันจัดจ้าน เสยเขาทิ่มแทงคู่ต่อสู้ เสียง "ผลัวะ ๆ" ได้ยินถึงบนอัฒจันทร์ แลเห็นได้ชัดว่า "โคขาว" ฝ่ายตั้งรับกล้ามเนื้อสั่นระริกตลอดตัว อย่างนี้ราคาต่อรอง "สิบสองร้อย/ร้อย" ไม่มีใครรอง
ความจริงตามคำบอกเล่า วัวชนไม่เคยชนกันถึงตาย (แม้กระทั่งสาหัส) มันรู้แพ้รู้ชนะตามประสาสัตว์ ที่จะตายก็คนดูนั่นละ เวลาลุ้นเมามัน คนถือเชือกกับอีกบางรายที่ใกล้ชิดเหตุการณ์ ก็จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้วัวโดยไม่รู้ตัว จนกรรมการกลางสนามต้องเอาผ้า หรือไม้ใกล้มือไล่ฟาด พวกนั้นจึงถอยกลับด้วยท่าทีพร้อมจะเขยิบเข้าไปใหม่ทุกเวลา
    ชวนสงสัยว่าอะไรทำให้ต้องทุ่มเทเชียร์กันขนาดนี้ ?    พอวัวชนะ บ้างก็ชูมือกระโดด...ตีลังกาลงในปลักขี้เลน  แสดงอาการลิงโลด เข้าสวมกอดวัวทั้งกลิ่นคาวเลือด บางคนร่ำไห้ออกมาด้วยความหนำใจ "ได้แรงอก" ภาพต่อมาเป็นการคล้องพวงมาลัย ตกแต่งประดับประดาเขาด้วยปลอกที่มีพู่สีสดใส ตลอดจนเสื้อสามารถก็มีให้วัว ชาวบ้านร้านตลาดเห็นต้องรู้ว่า "วัวกูชนะ" โดยที่วัวไม่รู้ความหมายคุณค่าที่แท้ของสิ่งเหล่านี้เลย ด้านผู้แพ้พากันจูงออกทางด้านหลัง หน้าบอกบุญไม่รับ     ชัยชนะหมายถึงเงินรางวัลตุงกระเป๋าเสื้อ กระเป๋ากางเกงเจ้าของวัว และพรรคพวก แต่ว่าไปแล้ว พิธีการประกาศชัยชนะนั้นสำคัญกว่า มีความหมายกว่าในสังคมชนวัว "ชนะ" เป็นเงินเท่าไหร่ไม่ต้องพูดถึง ขอให้ชนะเท่านั้นเป็นพอ    อย่างน้อย ชัยชนะที่บ่อนบ้านเสาธงครั้งนี้ก็ทำให้ "โหนดนำโชค" วัวชาวบ้านจากลานสะกามีคนกล่าวขวัญถึงอีกนาน มีนายหัวสนใจอยากได้เป็นเจ้าของมากขึ้น และที่สำคัญสามารถทำให้มันยืนเป็นตัวหลักของวัวชน "รอบพิเศษ" ในรายการใหญ่ที่กำลังจะมาถึงได้สบาย ๆ     ณ อีกมุมของบ่อนบ้านเสาธง นักเลงวัวชนคนหนึ่งเฝ้าดู "ทางชน" ของไอ้โหนดอย่างตื่นเต้น เขาเป็นเจ้าของโคขาวเพชฌฆาตจากอำเภอทุ่งใหญ่     ตื่นเต้นเพราะรู้เลยว่ามีโอกาสในการช่วงชิงชัยชนะจาก "โคโหนดนำโชค" ผู้ชนะในวันนี้ 

วิธีเลี้ยงวัวชน

สูตรลับ วิธีเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน

วิธีเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน

06.00 – 08.00  น. -    นำวัวเดินออกกำลังกายระยะทาง 6-8 กิโลเมตร อาจจะสลับกับการให้วัววิ่งเหยาะๆบ้าง แต่ไม่ควรเกิน  400 เมตร/ครั้ง โดยก่อนนำวัวออกจากบ้าน ควรใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดให้หมาดๆ  เช็ดตัวเสียก่อน  เป็นการวอร์มอัฟ กล้ามเนื้อ  ควรนำวัวออกกำลังกายสัปดาห์ละ 6 วัน  เท่านั้น

08.00 – 08.30 น.  - หลังการเดินออกกำลังกายแล้ว  ต้องนำวัวไปแทงดินเพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อลำคอ  แล้วต่อด้วยให้วัวไปเคลียคลอกับวัวตัวเมีย  เพื่อเป็นการคลายเครียดและคึกคะนอง

80.30 – 09.30  น.  -    นำวัวมาผูกไว้ที่หลัก  แล้วกรอกน้ำตาลอ้อยผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำตาลอ้อย  2  ช้อนโต๊ะ  ผสมในน้ำ  1  กระบอก  แล้วตามด้วยน้ำ  6  กระบอก  แล้วนำหญ้าใส่ลังให้วัวกินจนถึงเวลา  10.00 นาฬิกา  (ถือเป็นการผ่อนคลายหรือวอร์มดาวน์วัวไปด้วย)

10.00. – 10.30 น. -     อาบน้ำให้วัวโดยการล้างหน้าล้างตาก่อน  แล้วฉีดใต้ท้องลูกอัณฑะ  ตามด้วยทุกส่วนโดยแปรงถูตามลำตัวเป็นการนวดกล้ามเนื้อไปด้วย  เสร็จแล้วเช็ดตัวให้แห้ง (ถ้าฝนตกหรืออากาศชื้นให้ลงขมิ้นและกรอกยาเขียวใหญ่นานๆ  สักครั้ง เพื่อป้องกันวัวเป็นหวัด)ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลา  ประมาณ  30 -40 นาที  ต่อวัว  1  ตัว ) 

10.30 – 13.00 น. -  นำวัวผูกไว้กลางแดด  เพื่อฝึกความอดทนและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  ไม่ควรใช้เวลาเกิน  2.5  ชั่วโมง

13.00 – 15.30 น.  -     หลังจากเสร็จสิ้นจากการตากแดดให้นำวัวเข้าร่มให้ดื่มน้ำให้มากๆ  ถ้าวัวดื่มน้ำน้อยให้กรอกรวมแล้วครั้งละ  10 – 12 ลิตร  แล้วใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดตัวแล้วให้วัวกินหญ้าพักผ่อน

15.30 – 16.30 น.  -    นำวัวออกเดินเล่นพอเหงื่อซึมๆ ไป- กลับไม่ควรเกิน  3 กิโลเมตร แล้วต่อด้วยการแทงดิน ดมตัวเมีย

16.30 – 17.00 น.  -    ให้วัวพักผ่อนหรือให้กัดกินหญ้าด้วยตนเอง  ตามทุ่งนาถือเป็นการผ่อนคลายในตัวเอง

17.30 – 19.00 น.  -    ให้วัวกินหญ้าให้อิ่มและพักผ่อนอิริยาบถ

19.00 – 21.00 น.  -    ให้วัวได้ตากน้ำค้างในขั้นตอนนี้ให้ก่อไฟด้วยไม่ควรใช้ไม้ที่มีควันมากเพราะจะทำให้สูดดมสารพิษจากไม้ไปด้วยทำให้วัวขาดออกซิเจน  ควรใช้ถ่านไฟที่เผาแล้วมาก่อผิงไฟให้

21.00 – 06.00 น.  -     (วันใหม่)  ให้วัวได้นอนโดยมีหญ้าใส่ไว้ในลัง  และนอนในมุ้ง

(การบำรุงกำลัง)

    1.การถ่ายพยาธินอกจากจะใช้วิธีการฉีดยาถ่ายพยาธิแล้วควรใช้สมุนไพรไทยประกอบด้วย  มะเพ็ด  ลูกกรูด  ใบขี้เหล็ก  ลูกยอ  ย่านตาลหมอน  เกลือ  ยาดำ  ผสมกับในอัตราส่วนพอสมควรดองเอาไว้  3  คืน  แล้วกรอกให้วัวในช่วงเย็น  3  วัน  2  เดือนต่อครั้ง  จะทำให้วัวสมบูรณ์ขึ้น 
    2. การบำรุงกำลัง  ควรให้กินไข่ไก่บ้านผสมน้ำผึ้งรวงในอัตราส่วนไข่ไก่บ้าน  7  ฟอง  น้ำผึ้งรวง  2  ช้อนโต๊ะ  3  วัน/ครั้ง  ถ้าวัวถูกคู่  2  วัน/ครั้ง  ในช่วงเย็น
    3. น้ำมะพร้าวอ่อน  ควรให้กินบ้างเป็นการล้างสารพิษ  อาทิตย์ละครั้ง  น้ำมะพร้าวไม่ควรต่ำกว่า  7  ลูกต่อ  1  ครั้ง  ถ้าช่วงถูกคู่ก่อนชน  4  วัน  กินวันเว้นวัน  ในช่วงเวลา  เสร็จสิ้นการตากแดด
    4. การกินกล้วยน้ำว้า  กล้วยน้ำว้ามีวิตามินหลายชนิด   ควรให้กินบ่อยๆ  สัปดาห์ละ  3 – 4 หวี  ทำให้วัวสมบูรณ์  แต่ถ้าช่วงติดคู่ควรให้กินวันละ  2 - 3  ลูกก็พอ  เพราะจะให้วัวสมบูรณ์เกินไป  (ปลักเนื้อ) 
    5. การฉีดยาบำรุง  ควรฉีด  3 - 4 เดือนต่อครั้ง  เพราะถ้าฉีดบ่อยๆจะทำให้วัวแพ้ยา  เมื่ออยู่กลางแดดลิ้นจะห้อย  น้ำลายยืด
    6. การฉีดยาบำรุงคอให้ฉีดก่อนชน  1  เดือน  1  เข็ม  และก่อนชน  15  วัน  1  เข็ม  จะให้วัวมีกล้ามเนื้อคอใหญ่และแข็งแรง
    7. ควรใช้น้ำมันมะกอกลูบตามหน้าและคอโหนก  เพื่อป้องกันแมลงวันและลิ้นตอมไต่
    8. การใช้แคลเซี่ยมผงผสมน้ำให้ดื่มหลังจากตากแดดแล้ววันละ  2 – 3 ช้อนโต๊ะ (ควรใช้                  แคลเซี่ยมที่มีคุณภาพดี)
    9. การให้วัวกินหญ้า  ไม่ควรเป็นหญ้าในแปลงเดียวกันทุกวันเพราะวัวจะเบื่อควรเป็นหญ้าผสมหลายๆ ชนิด  แต่ชนิดหลักควรเป็นหญ้าหวาย  เพราะมีโปรตีนสูง  ควรให้วัวกินอิ่มวันละ  3 ครั้ง  (3 พุง) คือ ก่อนตากแดด  1  พุง  หลังจากตากแดด  1 พุง  และก่อนเข้านอน  1  พุง
 
(การซ้อมโคชน)

    1. วัวใหม่  ก่อนประกบคู่ชนควรซ้อมไม่ต่ำกว่า  10 – 15 ครั้ง  เวลาการซ้อมอยู่ในระยะเวลา  10 – 25  นาที  โดยค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ  25 วัน/ครั้ง
    2. วัวชนมาแล้ว  ก่อนประกบคู่ครั้งต่อไปควรซ้อม  2 - 3 ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกัน  20 – 25 วัน  ครั้งละ  25 – 30 นาที  

ลักษณะการดูวัว

การเลือกวัวของคนโบราณนั้นมีตำราเขียนไว้ ซึ่งตำราจะดูจากตำแหน่งของขวัญ คือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอยบนร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น 
ขวัญแทงใจ คือขวัญอยู่ที่ใต้คอตรงที่เพชฌฆาตกำหนดไว้สำหรับแทง เป็นวัวที่ตกใจง่าย
- ชายคาหิ้น คือขวัญที่อยู่บริเวณด้านข้างตรงฝนตก ลงย้อยสุด ไม่ดี
- ขวัญอยู่ด้านข้างซ้าย เจ้าของจะพบกับความหายนะ
- ขวัญอยู่สันหลัง ดีนัก
- ขวัญอยู่ปลายหาง ดีนัก

- ขวัญอยู่หน้าผาก ดีนัก
- ขวัญอยู่หน้าด้านขวา ดีนัก
- ขวัญอยู่เท้าซ้าย ดีนัก
- ขวัญอยู่เท้าหลังข้างขวา ดีทุกประการ

- ขวัญอยู่เท้าหลังข้างซ้าย เจ้าของเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
- ขวัญอยู่ด้านซ้ายทั้งหมด เจ้าของเป็นที่รักของคนทั้งหลาย
- ขวัญอยู่หลังปลายเท้า ไม่ดี
- ขวัญอยู่ที่เท้าทั้งหน้าและหลัง ดีมาก ควรผูกไว้หัวนอน เป็นวัวชนะศึก
- ขวัญหน้าหนอก ชื่อว่า "งำเงา" ไม่ดี
- ขวัญยอดหนอก ดียิ่ง

- ขวัญอยู่สองบ่า ไม่ดี
- ขวัญอยู่บ่าข้างเดียว เจ้าของมักได้พรากจากคู่ครอง
- ขวัญอยู่ใต้ตา ได้ชื่อว่า "สองนางนั่งไห้" ไม่ดี
- ขวัญเรียงกันบนสันหลังตั้งแต่ ๓ ขวัญ ชื่อว่า "ย้ายบาท" ไม่ดี

- ขวัญอยู่สองฝ่ายข้างลำตัวเป็นคู่ ๆ ชื่อว่า "หงส์หามเต่า เต่าหามหงส์" ร้ายดีเท่ากัน
- ขวัญอยู่บริเวณข้างลำตัวที่พู่หางพาดถึง ชื่อว่า "สายหางคำ" จะนำพาสมบัติมาให้
- ขวัญอยู่บริเวณก้านหาง เจ้าของมักตายโหง
- ขวัญอยู่บนหัว มักเชื่องช้า
- ขวัญอยู่คางทั้งสองข้าง ดีนัก

- ขวัญอยู่โคนลิ้น ชื่อ "น้ำดั้นท่อ" ดีนัก
- ขวัญบริเวณใกล้ตา ไม่ดี

กติกา

กติกาการชนวัว 
       วัวบางคู่กว่าจะแพ้ชนะกันอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ทั้งนี้เพราะต่างตัวต่างฉลาด บางตัวมีวิธีการต่อสู้โดยแทงด้วยเขา บางตัวแทงแล้วบิด บางตัวขัดเขาแล้วงัด บางตัวเอาเขาเข้าฟัน บางทีดันเข้าข้างตัวของคู่ต่อสู้ ซึ่งชาวภาคใต้เรียกว่า "เอา
เพลียง" หรือ "พาเพลียง" บางตัวขึ้นทับหรือขึ้นขี่ ชาวภาคใต้เรียกว่า "ขึ้นเหง" เป็นการตัดกำลังให้คู่ต่อสู้เหนื่อย อย่างไรก็ดี
ในการตัดสินแพ้ชนะมีกติกาของสนามไว้ดังนี้

 



1. ก่อนจะชนถ้าพิสูจน์ได้ว่าฝ่ายใดถูกยาหรือถูกกระทำ กรรมการอาจไม่ให้ชนและริบเงิน เพื่อรักษาชื่อเสียงของสนามและเพื่อไม่ให้สัตว์ทรมาน
2. ห้ามมิให้ทาน้ำมันหรือเมือกทุกชนิด ส่วนจะสวมเครื่องรางของขลังให้วัวก็แล้วแต่จะตกลงกันในวันทำสัญญา
3. เมื่อตีกลอง 2 ครั้งให้พาวัวเข้าชน โดยมีคนพาเข้าชน 2 คน
4. ให้พาวัวเข้าไปชนในลักษณะหน้ากระดานเขาหากัน จะแกล้งชักเชือกหรือตีวัวให้ตกใจไม่ได้
5. ห้ามตีวัวฝ่ายตรงข้าม แต่วัวฝ่ายตัวเองให้ตีได้
6. วัวที่ล้ม ถ้าไม่ลุกภายใน 5 นาทีถือว่าแพ้ ถ้าลุกก่อนให้ชนต่อไปได้ ถ้าลุกแล้วหนี กรรมการจะให้เวลา 5 นาที ถ้าไม่ชนถือว่าแพ้เด็ด
ขาด
7. ถ้าเขาคีบกันไม่หลุดภายใน 1 ชั่วโมงถือว่าเสมอ
8. ถ้าชนกันรั้วพัง วัวออกไปชนนอกรั้ว ทางสนามจะตีกลองให้นำวัวมาชนข้างใน วัวใครไม่เข้ามาถือว่าแพ้
9. ขณะชนกัน ถ้าตัวใดกระโดดหนีออกนอกรั้วถือว่าแพ้เด็ดขาด ถ้าตัวชนะกระโดตามไปนอกรั้วต้องนำมาชนใหม่ภายใน 10 นาที ถ้านำเข้ามาไม่ได้ทั้งสองตัว ถือว่าเสมอกัน
10. กรรมการหรือนายสนามชนวัวมีอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยในสนามและมีอำนาจห้ามผู้ที่มีความประพฤติไม่เรียบร้อยเข้าสนามได้มีกำหนด 3 เดือน
 การละเล่นพื้นบ้าน


ชนวัว
อุปกรณ์และวิธีการเล่นพันธุ์วัวชนเป็นพันธุ์ไทยเฉพาะ เจ้าของจะผสมพันธุ์วัวชนของตนเอง แล้วคัดเลือกวัวลูกคอกที่มีลักษณะดี นำมาเป็นวัวชน อายุ ๔-๖ ปี จัดว่าอยู่ในวัยหนุ่มถึกเต็มที่เหมาะที่จะชน

การเลี้ยงดู ในระยะแรกต้องเอาวัวที่คัดเลือกไว้นั้นมา "ปรน" (บำรุงเลี้ยงดู) ให้สมบูรณ์เสียก่อน ในกรณีที่เป็นวัวใหม่ อาหารหลักคือหญ้า วัวชนนั้นจะต้องตัดหญ้าใส่ลังหรือรางให้กินในโรงวัวหรือที่พักของวัว ไม่ปล่อยให้กินหญ้าเหมือนวัวประเภทอื่น ๆ อาหารหลักอย่างอื่นมีน้ำและเกลือ สำหรับน้ำจะต้องให้วัวกินละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง เกลือให้กิน ๑๕ วันต่อครั้ง ครั้งละ๑ กำมือ หรืออาจจะมากน้อยไปกว่านั้นก็ได้ อาหารเสริมสำหรับวัวชนมีหลายอย่าง เช่น ถั่วเขียวต้มกับน้ำตาลกรวด กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม น้ำมะพร้าวอ่อน ขนุน ไข่ไก่และผลไม้อื่น ๆ สำหรับไข่ไก่ให้วัวชนกินครั้งละ ๑๐ ถึง ๑๕ ฟอง อาจจะเอาไข่ไก่ตีคนกับเบียร์ดำใส่กระบอกกรอกให้กินก็มี
ที่อยู่ของวัวชน จะปลูกสร้างเป็นโรงนอนให้อยู่ขนาดพอควร แต่ต้องก่อไฟแกลบไล่ยุงและริ้น ไม่ให้มารบรวนได้ บางตัวที่เจ้าของมีฐานะดี กางมุ้งหลังใหญ่ให้วัวนอน หรืออาจทำมุ้งลวดให้ โรงวัวดังกล่าวจะต้องทำความสะอาดทุกวัน
การออกกำลังกายและฝึกซ้อมก่อนชนวัว ในระยะก่อนชน คนเลี้ยงจะต้องนำวัวเดินหรือวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้ามืดทุกวัน เป็นระยะเวลาทางประมาณ ๕ ถึง ๑๐ กิโลเมตร เมื่อเดินหรือวิ่งในตอนเช้ามืดแล้ว คนเลี้ยงวัวจะนำวัวไปอาบน้ำ ด้วยการขัดสีด้วยแปรง บางตัวฟอกสบู่จนเนื้อตัวสะอาดสะอ้านดีแล้ว จึงนำมากินหญ้ากินน้ำ แล้วเริ่มตากแดด เรียกว่า "กราดแดด" คือล่ามหรือผูกไว้กลางแดด เพื่อให้วัวชนมีน้ำอดน้ำทน เริ่ม "กราดแดด" ตั้งแต่ ๐๙.๐๐ ถึง ๑๒.๐๐ น. แต่บางตัวจะต้องกราดแดดต่อไปจนถึงบ่ายก็มี เมื่อกราดแดดแล้วก็นำเข้าเพื่อพักผ่อน ให้กินหญ้าให้กินน้ำ พอถึงเวลา ๑๕.๐๐ ถึง ๑๖.๐๐ น. คนเลี้ยงจะนำวัวพาเดินไปยังสนามที่จะชน เพื่อให้คุ้นเคยกับสถานที่ เรียกว่าให้ "ลงที่" ทุกวัน แล้วนำมากลับอาบน้ำเช็ดตัวให้แห้งอีกครั้งก่อนที่จะเข้าที่พัก เพื่อให้กินหญ้ากินน้ำและพักผ่อน จึงเห็นได้ว่าในช่วงเวลาวันหนึ่ง ๆ นั้น คนเลี้ยงวัวชนจะต้องเอาใจใส่โดยกระทำต่อวัวของตนเป็นกิจวัตรประจำวัน
การซ้อมคู่ การซ้อมคู่ หรือปรือวัว จะใช้เวลาประมาณ ๕-๑๐ นาที และต้องใช้เชือกยาว เพื่อสะดวกในการแยกคู่ออกจากกันเมื่อต้องการหยุดซ้อม การซ้อมคู่ทำได้ประมาณ ๑-๒ ครั้งต่อเดือน วัวชนตัวหนึ่งๆ ต้องซ้อมคู่อย่างน้อย ๔-๕ ครั้ง จึงจะทำกันชนได้
การเปรียบวัว การเปรียบวัว คือการจับคู่ชน นายสนามจะเป็นผู้นัดวันเปรียบวัวโดยให้นำวัวที่จะชนกันมาเข้ายืนเทียบกัน เพื่อพิจารณาความสูงต่ำ เล็กใหญ่ของลำตัว และเขาของวัวทั้งสอง เมื่อเจ้าของวัวตกลงจะชนกัน นายสนามจะกำหนดวันชนซึ่งเจ้าของวัวจะต้องปฏิบัติตามกติกาการชนวัวอย่างเคร่งครัด

โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การชนวัวมักจะชนในเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลเดือนสิบ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวบ้านหยุดการทำงาน มารื่นเริงสนุกสนานตามเทศกาล บางสนามวัวชนจะมีการชนวัว เดือนละครั้ง ในวันเสาร์และอาทิตย์ หรือแล้วแต่โอกาสอันเป็นที่ตกลงนัดหมาย

แนวคิด
กีฬาชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองของนครศรีธรรมราช มีกติกาชัดเจนถึง ๑๔ ข้อ จนถึงขั้นแพ้ชนะ ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นประทับใจแก่ผู้ชมยิ่ง ในระยะแรกจึงเชื่อกันว่า ชนเล่นเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมามีการพนันกันขึ้น มีการมัดจำวางเงินเดิมพันกัน จึงเป็นที่น่าวิตกว่ากีฬาชนวัวอาจก่อให้เกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา เพราะการพนันย่อมมีทั้งผู้ได้และผู้เสีย เพื่อป้องกันความไม่สงบเรียบร้อย ทางราชการจึงควรเข้าไปควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีขอบเขตจำกัดให้การชนวัวเป็นเพียงกีฬาพื้นบ้าน เพื่อความสนุกสนานเท่านั้น